วันอังคารที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ระบบสี CMYK










ระบบสี CMYK เป็นระบบสีที่ใช้กับเครื่องพิมพ์CMYK ย่อมาจาก cyan (ฟ้าอมเขียว) magenta (แดงอมม่วง) yellow (เหลือง) key (ดำ) ซึ่งเป็นชื่อสีที่นำมาใช้ การผสมสีทั้งสี่นี้ จะทำให้เกิดสีได้อีกหลายร้อยสี นำมาใช้ในการพิมพ์สีต่าง ๆ
"สีของแสง" และ "สีของสาร"
สีของแสง [+] RGB
...
สีของแสง (Colored Light) คือ ความแตกต่างสั้นยาวของคลื่นแสงที่เรามองเห็น เริ่มจากสีม่วงไปสีแดง
• แสงสีขาวที่เรามองเห็นนั้น เกิดจากแสงที่มีความยาวคลื่นต่างกันมารวมตัวกัน เกิดเป็นสีต่างๆ เรียกว่า สีแบบบวก (Additive Color) หรือ ระบบสี RGB ซึ่งเป็นสีที่เกิดจาก การผสมสีแบบบวก (Additive Color Mixing)
• สีของแสงประเภทนี้ ได้แก่ สีแสงในจอมอนิเตอร์ จอโทรทัศน์ กล้องถ่ายรูป ฯลฯ
• การทำงานเกี่ยวกับเว็บ พรีเซนเทชันที่ต้องใช้โปรเจ็กเตอร์ ฯลฯ นักออกแบบจะต้องเตรียมภาพในโหมด RGB (RGB mode)
สีของสาร [-] CMYK, RYB
สีของสาร (Colored Pigment) คือ สีที่เรามองเห็นบนวัตถุต่างๆ เกิดจากการดูดซึมและสะท้อนของความยาวคลื่นแสง
• สีแบบลบ (Subtractive Color) เป็นสีที่เกิดจากการดูดกลืนแสงสะท้อนจากวัตถุ คือ เมื่อมีลำแสงสีขาว
ตกกระทบวัตถุสีต่างๆ คลืนแสงบางส่วนจะดูดกลืนไว้ และสะท้อนเพียงบางสีออกมา จึงเรียกการผสมสีแบบนี้ว่า การผสมสีแบบลบ (Subtractive Color Mixing)
• สีแบบลบที่นำไปใช้ในการทำงานศิลปะ ได้แก่
1. สีแบบลบ (สีโปร่งแสง) หรือ ระบบสี CMYK [Subtractive Color: The CMYK Primaries (Transparent Pigments)]
การผสมสีแบบนี้นำไปใช้ในการผสมสีในการพิมพ์ การเตรียมภาพในสิ่งพิมพ์จึงต้องเตรียมภาพในโหมด CMYK (CMYK Mode)
2. สีแบบบลบ (สีทึบแสง) หรือ ระบบสี RYB [Subtractive Color: The RYB Primaries (Opaque Pigments)
เป็นระบบสีที่ใช้ในงานศิลปะ หรือเรียกว่า ระบบสีของช่างเขียน ระบบสีนี้ใช้เป็นพื้นฐานการทำงานศิลปะและการออกแบบโดยเฉพาะอย่างยิ่งงานจิตรกรรม การจัดโครงสีในงานออกแบบ ฯลฯ
RGB ย่อมาจาก red, green และ blue คือ กระบวนการผสมสีจากแม่สี 3 สี คือสีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน การใช้สัดส่วนของสี 3 สีนี้ต่างกัน จะทำให้เกิดสีต่างๆ ได้อีกมากมาย
ระบบสี RGB เป็นระบบสีที่เกิดจากการรวมกันของแสงสีแดง เขียว และน้ำเงินโดยมีการรวมกันแบบ Additive ซึ่งโดยปกติจะนำไปใช้ในจอภาพแบบ CRT (Cathode ray tube) ในการใช้งานระบบสี RGB ยังมีการสร้างมาตรฐานที่แตกต่างกันออกไปที่นิยมใช้งานได้แต่ RGBCIE และ RGBNTSC
ที่มา - http://www.qghservice.com/index.php…

วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2559

อัตราการเสียภาษีป้ายโฆษณา

อัตราการเสียภาษีป้ายโฆษณา

1.ป้ายที่มีอักษรไทยล้วนให้คิดอัตรา 10 บาทต่อห้าร้อยตารางเซนติเมตร
2.ป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศและหรือปนกับภาพและหรือเครื่องหมายอื่นให้คิดอัตรา 100 บาท ต่อห้าร้อยตารางเซนติเมตร
3.ป้ายดังต่อไปนี้ ให้คิดอัตรา 200 บาทต่อห้าร้อยตารางเซนติเมตร
- ป้ายที่ไม่มีอักษรไทยไม่ว่าจะมีภาพหรือเครื่องหมายใด ๆ หรือไม่
- ป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ
4.ป้ายตาม (1) (2) หรือ (3) ซึ่งมีข้อความ เครื่องหมาย หรือภาพที่เคลื่อนที่ หรือเปลี่ยนเป็นข้อความ เครื่องหมายหรือภาพอื่นได้ โดยเครื่องจักรกลหรือโดยวิธีใด ๆ ให้คิดอัตราภาษีตามจำนวนข้อความ เครื่องหมาย หรือภาพ หรือตามระยะเวลาที่ข้อความเครื่องหมาย หรือภาพปรากฏอยู่ในป้าย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง ถ้ายังไม่ได้ออกกฎกระทรวงให้คิดอัตราภาษีตามบัญชีอัตราภาษีป้ายนี้
5.ป้ายที่เปลี่ยนแปลงแก้ไขตามมาตรา 14 (3) ให้คิดอัตราตาม (1) (2) หรือ (3) แล้วแต่กรณี และ ให้เสียเฉพาะจำนวนเงินภาษีที่เพิ่มขึ้น
6.พื้นที่ของป้ายไม่ว่าจะมีรูปร่างหรือลักษณะอย่างไร ให้คำนวณ ดังนี้
- ถ้าเป็นป้ายที่มีขอบเขตกำหนดได้ให้เอาส่วนกว้างที่สุดคูณด้วยส่วนยาวที่สุดของขอบเขตป้ายเป็นตารางเซนติเมตร
- ถ้าเป็นป้ายที่ไม่มีขอบเขตกำหนดได้ ให้ถือว่าตัวอักษรภาพ หรือเครื่องหมายที่อยู่ริมสุดเป็นขอบเขตสำหรับกำหนดส่วนกว้างที่สุดและยาวที่สุด แล้วคำนวณตาม(ก)
7.ป้ายตาม (1) (2) (3) หรือ (4) เมื่อคำนวณพื้นที่ของป้ายแล้ว
- ถ้ามีเศษเกินกึ่งหนึ่งของห้าร้อยตารางเซนติเมตรให้นับเป็นห้าร้อยตารางเซนติเมตร ถ้าไม่เกินกึ่งหนึ่งให้ปัดทิ้ง
- ถ้ามีอัตราที่ต้องเสียภาษีต่ำกว่าป้ายละ 200 บาท ให้เสียภาษีป้ายละ 200 บาท
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากภาษีป้ายเป็นภาษีของราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ควรแยกออกจากประมวลรัษฎากรและมอบให้ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น โดยกำหนดให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดเทศบาลและสุขาภิบาล เป็นผู้จัดเก็บ จึงตรากฎหมายว่าด้วยภาษีป้ายขึ้นโดยเฉพาะ พระราชบัญญัติภาษีป้าย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2534
มาตรา 19 ให้ยกเลิกบัญชีอัตราภาษีป้ายท้ายพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ.2510 และให้ใช้บัญชีอัตราภาษีป้ายท้ายพระราชบัญญัตินี้แทน กฎกระทรวงที่กำหนดอัตราภาษีป้ายตามบัญชีอัตราภาษีป้ายท้ายพระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับแก่การเก็บภาษีป้าย ในปีถัดจากปีที่ประกาศกฎกระทรวงในราชกิจจานุเบกษา พระราชบัญญัติภาษีป้าย
(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2534
มาตรา 20 บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ.2510 ที่ถูกยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ให้ยังคงใช้บังคับต่อไปเฉพาะในการปฏิบัติจัดเก็บภาษีที่ค้างอยู่หรือที่พึงชำระก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ พระราชบัญญัติภาษีป้าย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2534
มาตรา 21 ความในมาตรา 7 วรรคสาม ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา พระราชบัญญัติภาษีป้าย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2534
หมายเหตุ : เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ.2510 ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้ว สมควรปรับปรุงบทบัญญัติว่าด้วยการยกเว้นภาษี การกำหนดอัตราภาษี การยื่นแบบแสดงรายการภาษี การประเมินภาษี การชำระภาษี การบังคับชำระภาษีค้าง การคืนเงินค่าภาษี อัตราเงินเพิ่ม และการอุทธรณ์ ตลอดจนปรับปรุงบทกำหนดโทษให้สอดคล้องกับสภาพการณ์และสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันหรือให้เหมาะสมยิ่งขึ้นจึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้